http://www.tananchai.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  บทความ  เว็บบอร์ด  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
Menu
หน้าแรก
บทความ
เว็บบอร์ด
ติดต่อเรา
เกี่ยวกับเรา
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 14/06/2007
ปรับปรุง 04/07/2017
สถิติผู้เข้าชม4,160,370
Page Views4,535,304
เพื่อนบ้านทั้งหมด
Link
เพื่อนบ้านทั้งหมด
 

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา

(อ่าน 1180/ ตอบ 0)

ฮันซอจุน

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์


ศาสตราจารย์ (พิเศษ) พลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (6 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 – 2 มกราคม พ.ศ. 2551) เป็นพระธิดาพระองค์เดียวในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก กับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นสมเด็จพระโสทรเชษฐภคินีในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และเป็นสมเด็จพระราชปิตุจฉาในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ทรงบำเพ็ญพระกรณียกิจมากมายแก่ประเทศชาติ เพื่อแบ่งเบาพระราชภาระของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีโครงการในพระอุปถัมภ์หลายร้อยโครงการ ทั้งด้านการศึกษา การสังคมสงเคราะห์ การแพทย์และการสาธารณสุข การต่างประเทศ การศาสนา และอื่น ๆ กับทั้งยังมีพระปรีชาสามารถด้านการเขียน ด้านการกีฬา และด้านการถ่ายภาพ พระองค์มีพระอาการผิดปกติเกี่ยวกับพระนาภี และได้เข้าประทับรักษาพระอาการประชวร ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช จนกระทั่งวันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2551 พระอาการประชวรได้ทรุดลงตามลำดับ และสิ้นพระชนม์เมื่อเวลา 02:54 นาฬิกา สิริพระชันษา 84 ปี


พระประสูติการ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เป็นพระธิดาพระองค์แรกในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกและสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระนามแรกประสูติตามที่โรงพยาบาลตั้งถวายคือ เมย์ สงขลา (อังกฤษ: May Songkla) ซึ่งเป็นเดือนที่พระองค์ประสูติ ต่อมาเมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระนามว่า หม่อมเจ้ากัลยาณิวัฒนา มหิดล (คำว่า วัฒนา ในพระนาม ทรงตั้งตามพระนามาภิไธยของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากัลยาณิวัฒนา สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงออกพระนามเรียกสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นการลำลองว่า บี๋ขณะทรงพระเยาว์


                                                                                        สนับสนุนบทความโดย allforbet.com


                                                                                           เว็บ สล็อตออนไลน์ ที่ดีที่สุด              


หลังจากประสูติได้ไม่นาน สมเด็จพระบรมราชชนก ทรงย้ายจากลอนดอนไปประทับที่เมืองเซาท์บอนซึ่งอยู่ทางตะวันออกของอังกฤษ จากนั้นเสด็จไปยังเมืองบอสคัม อยู่ติดชายฝั่งด้านทิศใต้ของอังกฤษ[5] ต่อมาเมื่อพระชันษาได้ 6 เดือน สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ จึงตามเสด็จฯ สมเด็จพระบรมราชชนกและสมเด็จพระบรมราชชนนี กลับประเทศไทย วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2468 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ตามเสด็จฯ สมเด็จพระบรมราชชนกและสมเด็จพระบรมราชนนีไปประทับที่ประเทศเยอรมนี ช่วงเวลานั้นเองที่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ได้เสด็จพระราชสมภพ ณ เมืองไฮเดลเบิร์ก สมเด็จพระบรมราชชนก เสด็จกลับประเทศอีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2469 เพื่อร่วมงานพระราชพิธีพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และประทับอยู่ร่วมในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ช่วงเวลานั้น ดร.ฟรานซิส บี แซร์ ชาวอเมริกันผู้เป็นอดีตที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศ เล่าถวายสมเด็จพระบรมราชชนก ว่าที่เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีสถานที่รับเลี้ยงเด็กชื่อ ชองโซเลย (Champ Soleil) มีเจ้าของเป็นแพทย์ ดูแลเด็กอย่างถูกหลักอนามัย สมเด็จพระบรมราชชนนีจึงนำพระธิดาและพระโอรสไปฝากให้อยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็กเป็นเวลาหลายเดือน ทำให้ทรงเริ่มรับสั่งภาษาฝรั่งเศสได้


การศึกษา ปลายปี พ.ศ. 2469 สมเด็จพระบรมราชชนกเสด็จพร้อมด้วยครอบครัวมหิดลไปยังนครบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เนื่องจากสมเด็จพระบรมราชชนกทรงศึกษาวิชาการแพทย์ ณ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ในขณะที่สมเด็จพระบรมราชชนนีทรงศึกษาด้านจิตวิทยา การทำอาหารและโภชนาการที่วิทยาลัยซิมมอนส์ด้านสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ทรงเข้าศึกษาในระดับอนุบาลที่โรงเรียนพาร์ก (Park School) หลังจากสมเด็จพระบรมราชชนกทรงสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตร์แล้ว พ.ศ. 2471 ทรงนำครอบครัวกลับประเทศไทย และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ก็ทรงเข้ารับการศึกษาในระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนราชินี ภายหลังสมเด็จพระบรมราชชนกเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2472 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ยังประทับอยู่ในกรุงเทพฯ จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 สมเด็จพระราชชนนีได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการที่จะทรงนำพระโอรสและพระธิดาไปประทับที่เมืองโลซาน รัฐโว ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทรงเข้าศึกษาที่ชองโซเลยอีกครั้งเป็นเวลา 2 เดือน เพื่อเรียนภาษาฝรั่งเศสเพิ่มเติมต่อมาสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ จึงทรงย้ายมาเรียนที่โรงเรียนเมียร์มองต์ (Miremont) จนจบระดับประถมศึกษา


หลังจากนั้นสมเด็จพระราชชนนีได้ย้ายไปประทับที่เมืองปุยยีซึ่งอยู่ติดกับโลซาน โดยพระราชทานนามสถานที่ประทับว่า วิลล่าวัฒนาสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ทรงศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนสตรีชื่อ École Supérieure de Jeunes Filles de la Ville de Lausanne ณ ที่นั้น พระองค์ได้ทรงศึกษาภาษาเยอรมันและภาษาละตินด้วย ต่อมาทรงย้ายมาเรียนที่ International School of Geneva ณ กรุงเจนีวา ทรงสอบผ่านชั้นสูงสุดของระดับมัธยมศึกษาเป็นที่ 1 ของโรงเรียน และที่ 3 ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ หลังจากนั้น พระองค์ทรงเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาในสาขาวิชาเคมีที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยโลซาน ในระหว่างนั้น พระองค์ก็ทรงศึกษาหลักสูตรของสังคมศาสตร์ Diplôme de Sciences Sociales Pédagogiques อันประกอบด้วยวิชาต่าง ๆ ในสาขาวิชาการศึกษา วรรณคดี ปรัชญา และจิตวิทยาด้วย


เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตร์สาขาเคมีซึ่งพระองค์ทรงได้รับ Diplôme de Chimiste A พระองค์ก็ยังทรงศึกษาวิชาวรรณคดีและปรัชญาต่อไปอีกด้วยความสนพระหฤทัย[6] สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 (ปฏิทินสากลคือ พ.ศ. 2478) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ คณะรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เชิญเสด็จ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันมหิดล ขึ้นทรงราชย์สืบพระราชสันตติวงศ์พระนามว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากัลยาณิวัฒนา ในฐานะที่เป็นพระโสทรเชษฐภคินีในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล จึงประกาศเฉลิมพระเกียรติยศขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478


พระกรณียกิจ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ทรงบำเพ็ญพระกรณียกิจมากมายแก่ประเทศชาติ เพื่อแบ่งเบาพระราชภาระของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีโครงการในพระอุปถัมภ์หลายร้อยโครงการ ทั้งด้านการศึกษา การสังคมสงเคราะห์ การแพทย์และการสาธารณสุข การต่างประเทศ การศาสนา และอื่น ๆ ด้านการศึกษา สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงก่อตั้งสมาคมครูภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทยขึ้นในปี พ.ศ. 2520 ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจเป็นอเนกประการทั้งในด้านการศึกษา สังคมสงเคราะห์ และสาธารณสุขจนเป็นที่ประจักษ์ชัดในวงการศึกษา มหาวิทยาลัยต่าง ๆ จำนวน 10 กว่าแห่งและองค์การระหว่างประเทศจึงถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์และเหรียญสดุดีพระเกียรติคุณแด่พระองค์ และทรงได้รับการเทิดทูนพระเกียรติจากรัฐบาลและองค์กรต่างป


ด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ในปี พ.ศ. 2529 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับ “กองทุนหมอเจ้าฟ้า” คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ไว้ในพระอุปถัมภ์ และมีพระเมตตาพระราชทานเงินจากทุนการกุศลสมเด็จย่าและทุนการศึกษา กว. เพื่อสมทบเข้ากองทุนเป็นประจำทุกปีเสมอมามิได้ขาด สำหรับอาจารย์แพทย์ไปศึกษาฝึกอบรม ณ ต่างประเทศ และส่วนหนึ่งเป็นทุนอุดหนุนการศึกษาจัดสรรให้นักศึกษาที่เรียนดีแต่ขัดสน สำหรับนักศึกษาแพทย์และนักศึกษา 5 คณะในกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ คือ คณะทันตแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ เทคนิคการแพทย์ และสัตวแพทยศาสตร์นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงเป็นอาจารย์สอนวิชาภาษาต่างประเทศที่มหาวิทยาลัยต่าง ๆ อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์โดยเฉพาะที่คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พระองค์เป็นพระอาจารย์ประจำนานถึง 8 ปี


โดยทรงเป็นหัวหน้าภาควิชาภาษาต่างประเทศเอง และทรงเป็นผู้ดูแลและจัดทำหลักสูตรการสอนของอาจารย์ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ทรงจัดทำหลักสูตรปริญญาตรีสาขาภาษาและวรรณคดีฝรั่งเศสสำเร็จ ด้วยการผสมผสานความรู้ด้านภาษาและวรรณคดีให้เข้ากันอย่างเหมาะสมโดยทรงได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็น ศาสตราจารย์พิเศษ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม 2521ทั้งยังทรงสนพระทัยโครงการจัดส่งเยาวชนไทยไปร่วมแข่งขันโอลิมปิกวิชาการ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 ถึงปัจจุบัน โดยพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์และเงินกองทุนสมเด็จย่าเพื่อช่วยเหลือ ทรงติดตามความเคลื่อนไหวทุกขั้นตอนการแข่งขัน พระราชทานกำลังใจ และทรงแสดงความยินดีแก่เยาวชนไทยที่ได้รับรางวัลและใบประกาศเกียรติคุณจากการแข่งขันในทุก ๆ ครั้งทรงเป็นองค์พระอุปถัมภ์ มูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ทำให้บรรดาเยาวชนไทยได้ค้นพบตัวเองและสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยติดต่อกันมายาวนานหลายปี ตั้งแต่ปีแรกที่มีการส่งเยาวชนร่วมแข่งขัน


ด้านการสังคมสงเคราะห์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ทรงอุทิศพระวรกายในการพัฒนาท้องถิ่นชนบทและการศึกษา โดยเฉพาะในพื้นที่ยากจนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือทรงตระหนักถึงปัญหาชุมชนแออัด จึงเสด็จเยี่ยมชุมชนแออัดหลายแห่งในกรุงเทพมหานครเป็นการส่วนพระองค์ ได้แก่ ชุมชนคลองเตย ชุมชนวัดพระยายัง ชุมชนย่านสวนลุมพินี ชุมชนกองขยะซอยอ่อนนุช ชุมชนเพชรเกษม 104 เป็นต้น ทรงห่วงใยเด็กและครอบครัวในชุมชนแออัด โดยทรงรับมูลนิธิเด็กอ่อนในสลัมให้อยู่ในพระอุปถัมภ์มีผลให้เกิดโครงการพัฒนาเด็กเพิ่มขึ้นหลายโครงการ เช่น โครงการพัฒนาเด็กในชุมชนและโครงการสาธารณสุขมูลฐานสำหรับแม่และเด็ก กองทุนนมและอาหารเสริม และกองทุนงบฉุกเฉิน เพื่อช่วยเหลือเด็กที่ยากไร้ในชุมชนแออัดให้พ้นสภาวะขาดสารอาหาร นอกจากนั้นยังช่วยเหลือชาวบ้านที่ประสบอัคคีภัย อุบัติภัย และภัยจากเคมี


ทั้งยังทรงเป็นองค์อุปถัมภ์องค์กรด้านสังคม ได้แก่ มูลนิธิส่งเสริมสวัสดิภาพสตรีและเยาวชน มูลนิธิพัฒนาเยาวสตรีภาคเหนือ มูลนิธิชีวิตพัฒนา มูลนิธิโลกสีเขียว สโมสรโรตารีกรุงเทพ-บางลำพู เป็นต้น ด้านการแพทย์และการสาธารณสุข พระองค์ทรงเป็นประธานของมูลนิธิต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พอ.สว.) หรือ หมอกระเป๋าเขียว รวมทั้งมูลนิธิโรคไต และทรงเป็นประธานมูลนิธิหม่อมเจ้าบุญจิราธร (ชุมพล) จุฑาธุช ซึ่งมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการให้ทุนการศึกษาแพทย์ตามโครงการแพทย์ชนบท ให้ทุนการศึกษาแก่นักศึกษาพยาบาลที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ และให้ทุนการศึกษาสำหรับผู้ที่จะสมัครเป็นอาจารย์วิชาการพยาบาล




Link: คลิ๊กที่นี่

Webboardแสดงความคิดเห็น
เยี่ยม   แย่   แย่   แย่   เขิน   หยอกล้อ  ตกใจ  ร้องไห้   สงสัย   ขอโทษ   หดหู่   อย่าน่ะ   ต่อว่า   โอเค
*ชื่อ
*สถานะ  
*อีเมล
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
*รหัสยืนยัน

หมายเหตุ : : กรุณากรอกข้อมูลที่มี * ทุกช่อง

 
 หน้าแรก  บทความ  เว็บบอร์ด  ติดต่อเรา
view