http://www.tananchai.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  บทความ  เว็บบอร์ด  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
Menu
หน้าแรก
บทความ
เว็บบอร์ด
ติดต่อเรา
เกี่ยวกับเรา
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 14/06/2007
ปรับปรุง 04/07/2017
สถิติผู้เข้าชม4,159,537
Page Views4,534,446
เพื่อนบ้านทั้งหมด
Link
เพื่อนบ้านทั้งหมด
 

อาณาจักรของคนไท

(อ่าน 548/ ตอบ 0)

ฮันซอจุน

การเข้ามาตั้งถิ่นฐานของคนไท แผนที่แสดงการกระจายทางภูมิศาสตร์ของผู้พูดภาษาตระกูลขร้า-ไท จะเห็นรูปแบบทั่วไปของการย้ายถิ่นของเผ่าที่พูดภาษาไทตามแม่น้ำและช่องเขาต่าง แนวคิดเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของชนชาติไท เดวิด วัยอาจเขียนว่า บรรพชนของคนไท-ไตที่อาศัยอยู่ในอินเดียตะวันออกเฉียงเหนือ พม่า ยูนนานใต้ ไทยและลาวปัจจุบัน คือ กลุ่มไท-ไตที่อยู่แถบเดียนเบียนฟูในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึง  โดยเชื่อว่าเป็นกลุ่มไท-ไตที่เดิมอาศัยอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำแดงที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้สุดของจีน และถูกจีนและเวียดนามแผ่แรงกดดันทางทหารและการปกครองเข้ามาจนประชากรกลุ่มหนึ่งเคลื่อนลงมาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ พบว่าอาณาจักรน่านเจ้าที่อยู่ทางเหนือของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่ ไม่ใช่อาณาจักรของคนไท-ไต แต่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์กลุ่มไท-ไตในแง่ที่ช่วยกั้นอิทธิพลของจีนจากทิศเหนือ และรับศาสนาพุทธและวัฒนธรรมอินเดียทางทิศตะวันตกและช่วยส่งเสริมการขยายตัวของกลุ่มไท-ไต


มีการกล่าวถึงชาวไทยสยามครั้งแรกในนครวัดในคริสต์ศตวรรษที่ 12 โดยเรียกว่า เสียม หรือคนผิวน้ำตาลพบว่าคนไท-ไตในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11–12 อาศัยอยู่แถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและตอนกลางของแม่น้ำโขงในลาว ลพบุรีซึ่งเป็นเมืองมอญถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิเขมรในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ลพบุรีเป็นศูนย์กลางของเสียม สยำ หรือเป็นเมืองที่รับผิดชอบการบริหารจัดการชาวเสียมในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11–12 ชาวไท-ไตตั้งรัฐใหม่ ๆ ทางเหนือของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่ มีคำกล้าวอ้างว่าชาวไท-ไตปล้นสะดมและจับเชลยของเจ้านายไท-ไตหลายพระองค์ ผู้ปกครองที่พ่ายต่อชาวไท-ไตต่างเกรงกลัวยอมส่งเครื่องราชบรรณาการและให้เชื้อพระวงศ์อภิเษกสมรสด้วย ย่างเข้าคริสต์ศตวรรษที่ 13 ชาวไท-ไตต่าง ๆ ยังอยู่กันเป็นแว่นแคว้นไม่มีการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง


ในช่วงนี้เมืองของชาวไท-ไตมีขนาดพอ ๆ กันไม่มีเมืองใดใหญ่กว่าเมืองอื่น และตั้งอยู่รอบจักรวรรดิเขมรและอาณาจักรพุกาม ไปจนถึงตอนเหนือของลาวเมื่อจักรวรรดิเขมรและอาณาจักรพุกามเสื่อมอำนาจเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 ทำให้เกิดรัฐใหม่ขึ้นเป็นจำนวนมากในเวลาไล่เลี่ยกัน อาณาจักรของชาวไทกินอาณาบริเวณตั้งแต่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดียปัจจุบันจนถึงทิศเหนือของลาว และลงไปถึงคาบสมุทรมลาย ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 13 มีประชากรชาวไทอาศัยอยู่มั่นคงในอดีตดินแดนแกนกลางของอาณาจักรทวารวดีและอาณาจักรลพบุรี จนถึงดินแดนนครศรีธรรมราช แต่ไม่มีบันทึกรายละเอียดการเข้ามาของชาวไท


                                                                                                    สนับสนุนบทความโดย lucaclub88


                                                                                                        เว็บ บาคาร่า ออนไลน์ ที่ดีที่สุด


เมื่อสิ้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 คนไทไตเริ่มย้ายจากหุบเขามาอยู่ที่ลุ่ม ทำให้เกิดรัฐเล็ก ๆ จำนวนมากที่แย่งชิงอาณาเขตกัน และเริ่มเข้ามาแทนที่สองจักรวรรดิใหญ่ คือ พุกามและพระนคร นครรัฐของไทค่อย ๆ เป็นอิสระจากจักรวรรดิเขมรที่เสื่อมอำนาจลง กล่าวกันว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ครองราชย์ 1792–1822 ทรงสถาปนาราชอาณาจักรสุโขทัยเมื่อปี 1781 นักประวัติศาสตร์ทราบลำดับเหตุการณ์ในช่วงแรกของอาณาจักรน้อยมาก แต่พอทราบว่าในรัชกาลพ่อขุนศรีอินทราทิตย์มีเหตุให้กรุงสุโขทัยรบกับเมืองฉอด ซึ่งขุนรามทรงประกอบวีรกรรมชนช้างชนะข้าศึกพ่อขุนรามคำแหง ครองราชย์ 1822–1841 ทรงเป็นผู้นำชาวไทที่มีความโดดเด่นและทะเยอทะยาน ทรงขยายอาณาเขตโดยใช้การทหารและการทูตผสมกัน ทั้งนี้ อาณาเขตอันกว้างขวางของกรุงสุโขทัยนั้นไม่ได้เกิดจากการเดินทัพไปหักตีเอาเมืองต่าง ๆ แต่เป็นเขตอิทธิพลที่มีผู้นำเข้าสวามิภักดิ์ และเขตอิทธิพลของสุโขทัยทางใต้ก็เกิดจากนครศรีธรรมราชที่เข้าสวามิภักดิ์ด้วยพญาลิไท ครองราชย์ 1841–1889/90 ทรงสืบราชสมบัติต่อมา แต่หลายเมืองเอาใจออกห่างทันที การที่สุพรรณบุรีแยกตัวออกทำให้กั้นระหว่างกรุงสุโขทัยกับดินแดนสวามิภักดิ์ที่อยู่ใต้ลงไป และนำไปสู่ชุดเหตุการณ์ที่นำไปสู่ความเจริญของกรุงศรีอยุธยา


พญามังราย ครองราชย์ 1802–1860 ทรงสืบราชสมบัติเป็นเจ้าผู้ครองหิรัญนครเงินยางเชียงลาว เชียงแสน ทรงพิชิตดินแดนเพื่อนบ้านแล้วขยายอำนาจลงทิศใต้ โดยตั้งเมืองเชียงรายขึ้นในปี 1805 รวมทั้งเข้ายึดครองเชียงของและฝาง ในเวลาต่อมา พระองค์เข้าเป็นพันธมิตรกับพญางำเมือง ครองราชย์ 1801–1841 แห่งแคว้นพะเยาและพ่อขุนรามคำแหงแห่งสุโขทัย ด้วยเหตุผลด้านความทะเยอทะยานในการขยายอำนาจและร่วมกันรับมือภัยคุกคามจากมองโกลทางเหนือ ทั้งนี้ ทั้งสามพระองค์ทรงเห็นแก่อัตลักษณ์ร่วมไท-ไต พญามังรายทรงพิชิตหริภุญไชยได้ในปี 1824 นับเป็นเจ้าผู้ครองดินแดนทางเหนือได้ทั้งหมด ระหว่างปี 1835 ถึง 1854 มองโกลกับเชียงรุ่งรบกัน จนสุดท้ายทั้งสองสงบศึกโดยเชียงรุ่งและเชียงใหม่ส่งบรรณาการให้แก่ราชสำนักจีน


Link: คลิ๊กที่นี่

Webboardแสดงความคิดเห็น
เยี่ยม   แย่   แย่   แย่   เขิน   หยอกล้อ  ตกใจ  ร้องไห้   สงสัย   ขอโทษ   หดหู่   อย่าน่ะ   ต่อว่า   โอเค
*ชื่อ
*สถานะ  
*อีเมล
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
*รหัสยืนยัน

หมายเหตุ : : กรุณากรอกข้อมูลที่มี * ทุกช่อง

 
 หน้าแรก  บทความ  เว็บบอร์ด  ติดต่อเรา
view